
ศิลปะตะวันตกของอาสนวิหาร
![]() โบสถ์หลังเก่า | ![]() ภายในอาสนวิหาร |
---|---|
![]() ภายนอกอาสนวิหารอัสสัมชัญ | ![]() ภายในอาสนวิหารอัสสัมชัญ |
![]() ภายในอาสนวิหารอัสสัมชัญ | ![]() ภายในอาสนวิหารอัสสัมชัญ |
โบถส์หลังเก่า
ตามบันทึกที่พบนั้น อธิบายศิลปของตัวโบถส์ไว้ว่า อาสนวิหารอัสสัมชัญหลังแรก ตัวโบสถ์อันสง่างามก่อด้วยอิฐถือปูน ตัวโบสถ์นั้นมีสวนอันกว้างล้อมรอบอยู่โดยรอบ
อาสนวิหารอัสสัมชัญหลังใหม่
สถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ และควบคุมการก่อสร้าง วัสดุส่วนใหญ่ เช่น หินอ่อน และกระจกสี สั่งเข้ามาจากฝรั่งเศส และอิตาลี มีรากฐานเป็นท่อนซุงจำนวนมาก มัดเรียงกันเป็นแพ แทนการใช้เสาเข็ม ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวโบสถ์ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด จึงได้มีการซ่อมแซม และมีการใช้เหล็กโยงกลางอาคารเพื่อเสริมแรงดึงผนัง ทั้ง 2 ด้านเข้าหากัน
รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของ อาสนวิหารอัสสัมชัญ ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรม ยุคเรเนซองส์ แสดงถึงความหรูหราลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือ การคำนึงถึงสมดุล เป็นหลักใหญ่ นอกจากนั้น บริเวณมุมอาคารยังมีการเน้นให้เห็นความมั่งคง โดยการแต่มุมอาคารเลียนแบบหินทรายก้อนโตเรียงสลับแบบ QUOINS ซึ่งเป็นการสลับด้านยาว และยอดมีจุดเด่นอยู่ที่หน้าจั่วแบบ LOW PITCH คือ มีความลาดชันน้อย อันเป็นอิทธิพลมาจากสมัย CLASSIC ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับการใช้เสาโรมันแบบ COMPOSITE รับโค้งประทุน ภายในอาสนวิหารแล้ว ยิ่งแสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมในยุค RENAISSANCE อย่างชัดเจน
ส่วนด้านในผนังและเพดานก็ตกแต่งด้วยจิตรกรรมแบบเฟรสโก วาดบนผนังหรือ เพดานของโบสถ์ซึ่งเทคนิคการผสมสี เฟรสโกในสมัยโบราณนั้น มีความยากลำบากมากคือการผสมสีต้องใช้สีผสม กับนํ้าแล้วก็ต้องทำการวาดลงบนปูนพลาสเตอร์บนผนังหรือ กำแพงโบสถ์ที่ต้องการจะวาดและที่สำคัญคือต้องทำการวาดในขณะที่พื้นผิวของปูนพลาสเตอร์นั้นยังคงเปียกอยู่ หริอยังหมาดๆอยู่
ประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อของทางศาสนาคริสต์และมีรูปปั้นพระแม่มารีซึ่งอยู่ตรงกลางของอาสนวิหารอัสสัมชัญ